Friday, 11 October 2024

Academic

รัฐและอินเทอร์เน็ต: ไม่ยุ่งก็ไม่ได้ มากไปก็ไม่เหมาะ

หลายครั้งในที่สาธารณะ เรามักจะเห็นหลายคนแสดงจุดยืนที่ว่า รัฐไม่ควรเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับอินเทอร์เน็ตเลย จุดยืนเช่นนี้แม้จะเข้าใจได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นจุดยืนที่มีปัญหาอยู่ในตัวมันเองไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองข้ามเรื่องของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงทางสังคมที่เกี่ยวข้อง

อคติในอัลกอริทึม (Algorithm Bias) เมื่อคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นกลางอย่างที่คิด

บทความนี้จะนำเสนอความเข้าใจพื้นฐานว่าอะไรคืออคติในอัลกอริทึม และส่งผลกระทบอย่างไรได้บ้าง รวมถึงจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ทั้งนี้ มุมมองในบทความชิ้นนี้มาจากฐานของผู้เขียนที่อยู่ในโลกสังคมศาสตร์ มองมายังปัญหาซึ่งคาบเกี่ยวกับปัญหาในโลกคอมพิวเตอร์ ดังนั้นบทความชิ้นนี้จะไม่ลงรายละเอียดในเชิงเทคนิคมากนัก ด้วยข้อจำกัดทางความรู้ที่มี

ศาสนาไม่ใช่เครื่องสอนให้เราอยู่ร่วมกัน: ข้อคิดเห็นบางประการกับศาสนาและโลกสมัยใหม่

การที่บอกว่าศาสนาเป็นเครื่องมือในการสอนให้คนเราอยู่ร่วมกันหรือเป็นเรื่องของแนวทางวัตรปฏิบัติสำหรับคนในสังคมนั้น เป็นความเข้าใจของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งพยายามมองว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ยังคงมีบทบาทในสังคมและมีพื้นที่อยู่บนโลกของสมัยใหม่ ซึ่งมีความเหนือกว่าปรัชญาในฐานะที่เป็นตัวเพิ่มหรือสอนกระบวนการคิดและเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของมนุษย์

การกลับไปพิจารณา “เหตุผลของรัฐ” และ “การปกครองชีวญาณ” ของฟูโกต์: ทัศนะเชิงวิพากษ์จากคำบรรยายที่วิทยาลัยแห่งฝรั่งเศส

บทความนี้ จะเป็นการทบทวนวรรณกรรม ความเข้าใจ และประเด็นที่เกี่ยวกับการปกครองชีวญาณและเหตุผลของรัฐ จากคำบรรยายที่วิทยาลัยแห่งฝรั่งเศส ในปีคริสต์ศักราช 1977-1978
- Advertisement -

เนื้อหาล่าสุด